วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

     คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา ส๓๑๑๐๑       ช่วงชั้นที่ ๒  (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๑)     
   
               
                      ศึกษา  วิเคราะห์  การสังคายนา  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสภาพแวดล้อมในสังคมไทย รวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว  พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงบำเพ็ญทุกกรกิริยา  ประวัติพระมหากัสสปะ  พระอุบาลี  อนาถบิณฑิกะ  นางวิสาขา  พระเจ้า-อโศกมหาราช  พระโสณะและ              พระอุตตระ  บุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์  ชาดกในเรื่อง อัมพ-ชาดก  ติตติรชาดก  ประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติสาวก  ชาดก  เรื่องเล่าและศาสนิกชนตัวอย่าง  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสภาพแวดล้อมในสังคมไทย รวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว  ความจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ศาสนาอื่นๆ  ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
                                     โดยใช้กระบวนการคิด  กระบวนการสืบค้นข้อมูล  กระบวนการทางสังคม  กระบวนการปฏิบัติ   กระบวนการกลุ่ม  กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา   วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักพุทธคุณ 9  อริยสัจ 4  ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้)  ในเรื่อง ขันธ์ 5 (ธาตุ 4)  สมุทัย  (ธรรมที่ควรละ)  ในเรื่องหลักกรรม  อบายมุข 6  นิโรธ  (ธรรมที่ควรบรรลุ)  ในเรื่อง  สุข 2  (กายิก- เจตสิก)  คิหิสุข  มรรค  (ธรรมที่ควรเจริญ)  ในเรื่องไตรสิกขา  กรรมฐาน 2  ปธาน 4 โกศล 3  มงคล 38 (ไม่คบ คนพาล  คบบัณฑิต  บูชาผู้ควรบูชา)  พุทธศาสนสุภาษิต  ในเรื่อง ย  เว  เสวติ  ตาทิโส  (คบคนเช่นใดย่อมเป็นเช่นนั้น)  อตฺตนา  โจทยตฺตาน  (จงเตือนตนด้วยตน)  นิสมฺม  กรณ  เสยฺโย  (ใคร่ครวญก่อนจึงทำดีกว่า)  ทุราวาสา  ฆรา  ทุกฺขานา โจทยตฺตาน  (เรือนที่ครองไม่ดีนำทุกข์มาให้)  ปฏิบัติตนตามหลักธรรมและนำไปพัฒนา  แก้ปัญหาของตนและครอบครัวในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  การพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และและการดำเนินชีวิตด้วย  วิธีคิดแบบโยนิโส-มนสิการ  (วิธีคิดแบบคุณค่าแท้  คุณค่าเทียม  วิธีคิดแบบคุณ-โทษและทางออก)  สวดมนต์แผ่เมตตา  บริหารจิต  และเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ
                วิเคราะห์และปฏิบัติตน  การบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถาน  วิถีชีวิตของพระภิกษุ  บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ  การจัดโต๊ะหมู่บูชา  การจุดธูปเทียน  การจัดเครื่องประกอบโต๊ะหมู่บูชา  ปฏิบัติตนในศาสนพิธีและพิธีกรรมในเรื่องคำอาราธนาต่างๆ  ประวัติ  ความสำคัญ  และการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


                      ตัวชี้วัด                             
ส 1.1   ม. 1/1   ม. 1/2    ม. 1/3   ม. 1/4        
ส 1.2  ม. 1/1   ม. 1/2    ม. 1/3   ม. 1/4   


 Ž   สาระการเรียนรู้แกนกลาง
          1. พุทธประวัติ
          2. ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา
                    - พระมหากัสสปะ
                    - พระอุบาลี
                    - อนาถบิณฑิกเศรษฐี
                    - นางวิสาขา
         3. ศาสนิกชนตัวอย่าง
                    - พระเจ้าอโศกมหาราช
                    - พระโสณะและพระอุตตระ
         4. ชาดก
                    - อัมพชาดก
                    - ติตติรชาดก
x   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
                    4.1 ความสามารถในการคิด
        - ทักษะการคิดวิเคราะห์
                    4.2 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
         - กระบวนการกลุ่ม
               - กระบวนการปฏิบัติ
         - ทักษะทางสังคม
   คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                                              1. ซื่อสัตย์สุจริต
                                              2. มีวินัย
                                              3. ใฝ่เรียนรู้
                                              4. มุ่งมั่นในการทำงาน